วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสม
       ต้นฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนมิถุนายน ตามสภาพฝนแต่ละพื้นที่
       ปลายฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม
       ฤดูแล้ง ปลูกได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
 การเตรียมดิน สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
            วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน เพื่อให้ผิวดินอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ 

และให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก และทำลายเหง้าวัชพืชให้แห้งตายและฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน

การไถพรวนควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้หลักการ ไถดะให้ลึก ไถแปรให้ดินแตกละเอียด
 1.     ไถดะ การไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ควรไถให้ลึกประมาณ 30 ซม.เพราะการไถลึก จะทำให้ดิน

เก็บน้ำได้มาก และตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด
2.    ไถแปร ควรไถด้วยผาน 7 โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะเพื่อย่อยดินก้อนใหญ่ให้แตก ทำให้ดินมี

ความร่วนซุยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เมล็ดพันธุ์งอกได้อย่างสม่ำเสมอ
 การปลูกและระยะปลูก
วิธีการปลูก ทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1.     ใช้เครื่องปลูก
เลือกรูจานหยอดให้เหมาะกับขนาดของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะระบุไว้ที่ถุง โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างระหว่าง

แถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-25 ซม. โดยปริมาณเมล็ดที่ใช้จะประมาณ 3-3.5 กก./ไร่ 

และ จะมีจำนวนต้นข้าวโพด/ไร่ ประมาณ 8,533-10,600 ต้นต่อไร่ ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 2.5-3 นิ้ว
 2.     ใช้คนปลูก
ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคเหนือ จะใช้เชือกในการกำหนดระยะให้มีระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70 ซม. แล้วใช้จอบขุด หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดแล้วกลบ โดยจำนวนเมล็ดที่หยอดและระยะห่างระหว่างหลุม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่า สายพันธุ์นั้นเหมาะกับการปลูกถี่ได้ดีเพียงใด

  เคล็ดไม่ลับ:
       การทดสอบความชื้นของดินว่าเพียงพอหรือไม่ ให้นำดินที่ระดับความลึกที่ใช้หยอดเมล็ดจริงมาปั้น หากปั้นเป็นก้อนได้แสดงว่าความชื้อพอเหมาะ
       ควรทำการทดสอบเครื่องหยอดรูจานหยอด กับเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจริง ว่าได้ตามระยะที่

ต้องการหรือเปล่า ถ้าหากถี่หรือห่างเกินไป จะได้เปลี่ยนจานที่มีจำนวนรูจานตามต้องการ
       ความลึกในการหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับความชื้นประเภทของดิน รวมถึงประสบการณ์ของเจ้าของ

แปลงซึ่งโดยทั้วไป หยอดลึกไม่เกิน 4-5 ซม.
 การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยแบ่งได้ 2 ครั้ง เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ ดังนี้
1.     ปุ๋ยรองพื้น ควรใส่รองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 20 กิโลกรัม/ไร่
2.     ปุ๋ยยูเรีย เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25-30 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่
 ข้อแนะนำ : ควรใส่ปุ๋ยพร้อมกับการกำจัดศัตรูพืชเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-35 วัน หรือสูงแค่เข่า โดยใส่แบบโรยข้างแถวให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ดินกลบ
 การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน
            ดินเหนียวสีดำ    ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วันถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน  แล้วพรวนดินกลบ
            ดินเหนียวสีแดง  ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
            ดินร่วน หรือดินร่วนทราย  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
            ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตข้าวโพดทุก ๆ 100 กิโลกรัมจะสูญเสียธาตุอาหารหลักไป

กับเมล็ด คือ ไนโตรเจน 1.59 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.38 กิโลกรัม โพแทสเซียม 0.51 กิโลกรัม ส่วนตอ

ซังจะสูญเสีย ไนโตรเจน 0.77 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.11 กิโลกรัม โพแทสเซียม 1.62 กิโลกรัม ดังนั้น

จึงไม่ควรเผาต้นหรือ
นำตอซังไปทิ้ง ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด
 การกำจัดวัชพืช
            ช่วงวิกฤตที่ข้าวโพดอ่อนแอต่อวัชพืชที่สุดคือระยะ 13-25 วัน หลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง จึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก โดยเลือกวิธีการกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ดังนี้
1. การไถและพรวนดิน ก่อนปลูกข้าวโพด โดยไถและพรวนดินหลังวัชพืชงอก จะช่วยทำลายกล้าวัชพืชให้ตายได้ ส่วนกล้าและเหง้าวัชพืชที่ตายยาก ควรตากดินนาน 10-15 วัน เพื่อให้วัชพืชตาย ก่อนปลูกข้าวโพด
2. การทำรุ่น เป็นการพรวนดิน ดายหญ้า หลังข้าวโพดงอกแล้วแต่ก่อนจะถึง ระยะวิกฤตโดยใช้เครื่องมือกลต่าง ๆ เช่น จอบ ไถ รถไถและรถแทรกเตอร์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืช ในแถวหลงเหลืออยู่จึงต้องใช้ขอบดายตามอีกครั้ง
3. การใช้สารเคมี อาจใช้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหรือพ่นกำจัดวัชพืชหลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว การใช้สารเคมีเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด แต่ต้องระมัดระวังเพราะอาจเป็นอันตรายต่อคน พืชอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม ควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ สารเคมีที่แนะนำมีดังนี้
            อาทราซีน 80 ในอัตรา 375-750 กรัม  ผสมน้ำ 60-80 ลิตร/ไร่ผสมอะลาคลอร์ 500-750 ซีซี ผสมน้ำ 60-80 ลิตร  พ่นในพื้นที่ 1 ไร่   ในขณะที่ดินมีความชื้นใช้ก่อนข้าวโพดงอก (และก่อนหญ้างอกหรือหญ้างอกต้นเล็กไม่เกิน 3 ใบ) ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้เพิ่มขึ้นอีก ใช้ควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดีเป็นพิษต่อผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นถ้าจะปลูกถั่วตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อาทราซีนและอะลาคลอร์ ใช้ฉีดพ่นวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก ใช้อัตรา 500-1,000 ซีซี/ไร่ กำจัดวัชพืชใบแคบได้ดี เป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้นถ้าจะปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อะลาคลอร์
หมายเหตุ การใช้สารกำจัดวัชพืช จะได้ผลดีถ้าปฏิบัติถูกต้อง แต่มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมน้ำและฉีดพ่นขณะที่ดินยังชื้นอยู่ และไม่แนะนำให้ปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด เพราะทั้ง 2 พืชมีระบบรากคล้ายกันและใช้ธาตุอาหารคล้ายกัน ดินจะเสื่อมเร็ว ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น

ความต้องการน้ำของข้าวโพด  
ข้าวโพดมีความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูปลูก ประมาณ 350-600 มิลลิเมตร
1.     การใช้น้ำครั้งแรกเมื่อปลูก หลังจากไถพรวนเตรียมแปลงเสร็จ ให้น้ำประมาณ 30-40 มิลลิเมตร
เพื่อให้ดินมีความชื้นพองอก
2.     การให้น้ำในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด ควรให้สัปดาห์ละประมาณ 40-50 มิลลิเมตร
ไม่ควรให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ข้าวโพดเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลด และอาจตายได้ ถ้าให้น้ำมากเกินไปควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงทันที
ข้าวโพด เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดอายุการเจริญเติบโตแต่ความต้องการน้ำจะสูงสุด ในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นของการสร้างเมล็ด ถ้าหากขาดน้ำ
       ในช่วงระยะการเจริญทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 25%
       ในช่วงระยะออกดอกตัวผู้-ออกไหม-เริ่มสร้างเมล็ดผลผลิตจะลดลง 50%
       ในช่วงระยะหลังการสร้างเมล็ดเสร็จ ผลผลิตจะลดลง 21%

 วิธีการเก็บเกี่ยว
1. เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน
            วิธีการเก็บใช้ไม้ปลายแหลมแทงเปลือกบริเวณปลายฝัก  ต้องระวังอย่าให้โดนเมล็ดปอกเปลือก
แล้วใส่ในตะกร้า หรือกระสอบป่าน หรือวางกองไว้บนผ้าพลาสติกหรือใช้ซากต้นข้าวโพดรองพื้น
2.  เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ 
            การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่  เครื่องปลิดฝักข้าวโพด  (corn snapper)  เครื่องปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด (corn picker-husker)  และเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด  (corn picker-Sheller  หรือ  corn combine harvester)  เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกเป็นเมล็ด  การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวมีข้อดีในกรณีขาดแคลนแรงงาน  ทำให้ค่าจ้างเก็บเกี่ยวสูง  สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างรวดเร็ว  และอาจทำให้ทันปลูกในฤดูฝน  แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องเก็บเกี่ยวในพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ  ต้นข้าวโพดหักล้มน้อย  ยังมีอัตราการสูญเสียเนื่องจากฝักเก็บเกี่ยวไม่หมด  และมีการแตกหักของฝักและเมล็ด  ทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย  นอกจากนี้  การเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ปลูกในต้นฤดูฝนอาจจะทำให้รถเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ลำบากเพราะดินเปียกโดยเฉพาะรถเก็บเกี่ยวที่มีขนาดใหญ่  รถเก็บเกี่ยวยังมีราคาค่อนข้างแพง  และไม่คุ้มค่าที่เกษตรกรรายเล็กจะซื้อไว้ประจำฟาร์ม  จึงมีการจ้างเหมารถเก็บเกี่ยวโดยคิดราคาต่อกิโลกรัม  หรือจ้างเหมาเป็นไร่ในบางจังหวัด
               เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือกแล้วจึงมาแกะเปลือกภายหลัง  หรือเก็บไว้ทั้งเปลือก  การเก็บเกี่ยววิธีนี้ทำได้เร็ว  ช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดเกิดแผลหรือเมล็ดร้าวในระหว่างทำการเก็บเกี่ยวหรือขนย้าย  นอกจากนี้  เปลือกยังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อรา  และแมลงสัมผัสเมล็ดโดยตรง  การเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน  ไม่ควรวางฝักข้าวโพดบนพื้นที่ชื้นแฉะ  อย่าโยนฝักข้าวโพดเพราะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวของเมล็ดหรือเมล็ดร้าว  ทำให้เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดได้ง่าย  ขณะเก็บเกี่ยว  ให้แยกฝักเน่าหรือมีเชื้อราเข้าทำลายออกจากฝักดี  และเผาทำลายฝักเน่าและฝักที่มีเชื้อรา
ที่มา : http://www.pioneer.com/web/site/thailand/resources/indiv-tech-sheets/

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง 


       การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืช  2  ต้น ซึ่งเป็นต้นชนิดเดียวกันและมีระบบรากมาเชื่อมต่อกิ่งกันโดยต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าทีเป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี เมื่อเกิดการประสานของตัวกิ่งทั้งสองแล้ว จึงตัดกิ่งพันธุ์ดีออก เหลือเป็นต้นตอของพันธุ์หนึ่ง และยอดพันธุ์ดีเป็นของอีกพันธุ์หนึ่ง
       พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่งเช่น  มะขาม  มะม่วง  ทุเรียน  ขนุน  เงาะ  ลำไย
วิธีการทาบกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
1. การทาบกิ่งแบบประกบ มี  3  แบบคือ
       1.1 วิธีทาบกิ่งแบบฝานบวบ
       1.2 วิธีการทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น
       1.3 วิธีทาบกิ่งแบบพาดร่อง
2. การทาบกิ่งแบบเสียบ มี  3  แบบคือ
       2.1 การทาบกิ่งแบบฝานบวบแปลง
       2.2 การทาบกิ่งแบบเข้าบ่าขัดหลัง
       2.3 การทาบกิ่งแบบเสียบข้างแปลง        
ซึ่งในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ  ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

การทาบกิ่งแบบฝานบวบ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทาบกิ่ง
       1. มีดบางหรือมีดที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์
       2. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
       3. แผ่นพลาสติกขนาด ๐.๕ x ๑๒ นิ้ว หรือเทปพลาสติกสำเร็จรูปเป็นม้วน
       4. ต้นตอหรือตุ้มทาบ
       5. เชือกหรือลวด 
ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้
       1. เตรียมต้นตอได้จากการเพาะเมล็ด การชำ หรือการตอน โดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ต้นตอที่นำมาใช้ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร หรือ เท่าแท่งดินสอ และ การเลือกกิ่งพันธุ์ ควรเป็นกิ่งที่ตั้งตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นกิ่งที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคและแมลงรบกวน
       2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่
       3. เฉือนต้นตอเช่นเดียวกันกับกิ่งพันธุ์ดี
       4. นำต้นตอประกบแผลบนกิ่งพันธุ์ดี
       5. พันผ้าพลาสติกให้แน่น
       6. ผูกเชือกหรือลวดยึดถุงต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดีให้แน่น
       7. เมื่อทาบกิ่งเสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ  30-45  วัน  เพื่อให้แผลติดสนิทและให้ตัดยอดต้นตอทิ้งไป
       8. ควั่นกิ่งพันธุ์ดีใต้รอยต่อ  หลังจากนั้นประมาณ  2  สัปดาห์ตัดลงจากต้นพันธุ์ดีได้

เคล็ดไม่ลับของการทาบกิ่ง
การปฏิบัติดูแลหลังจากทำการทาบแล้ว
       1. ควรให้น้ำแก่ต้นแม่พันธุ์กิ่งพันธุ์ดีอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับสังเกตดูน้ำในตุ้มทาบที่ทาบแบบประกับซึ่งมักจะแห้งจึงต้องให้น้ำโดยการใช้หัวฉีดฉีดน้ำเข้าไปในถุงตุ้มทาบบ้างในบางครั้ง แต่สำหรับตุ้มทาบแบบเสียบมักจะไม่พบปัญหาตุ้มทาบแห้งเท่าใดนัก ยกเว้นทำการทาบในฤดูแล้ง
       2. กรณีที่ส่วนยอดกิ่งพันธุ์ดีหลังจากทาบแล้วมีโรคและแมลงเข้าทำลาย ควรกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรค 
และแมลง
       3. กรณีที่มีพายุหรือฝนตกหนักต้องหาไม้มาช่วยพยุงหรือค้ำกิ่งไว้เพื่อไม่ให้กิ่งพันธุ์ที่ทำการทาบหักได้
       4. กรณีที่ทำการทาบหลายตุ้มในกิ่งเดียวกันควรต้องหาไม้ค้ำ หรือเชือกโยงไว้กับลำต้นเพื่อไม่ให้กิ่งใหญ่หักเสียหาย 

ลักษณะของกิ่งทาบที่สามารถตัดไปชำได้
       1. กิ่งทาบมีอายุประมาณ ๔๕-๖๐ วัน
       2. สังเกตรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีว่าประสานกันดี เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและนูน
       3. กระเปาะหรือตุ้มทาบีความชื้นพอประมาณณ (ค่อนข้างแห้ง)
       4. กระเปาะหรือตุ้มทาบมีรากเจริญออกมาใหม่เห็นชัด รากเป็นสีน้ำตาลและปลายรากมีสีขาว 

วิธีการตัดกิ่งทาบ
       ให้ตัดกิ่งพันธุ์ดีตรงระดับก้นกระเปาะหรือตุ้มทาบ เพื่อสะดวกในการย้ายชำและช่วยทำให้รอยต่อของแผลไม่หักหรือฉีกเนื่องจากน้ำหนักของส่วนยอดพันธุ์ดี เพราะส่วนโคนกิ่งพันธุ์ดีที่ยาวเลยรอยแผลจะช่วยพยุงน้ำหนักของส่วนปลายยอดพันธุ์ดี

การชำกิ่งทาบ
       เมื่อตัดกิ่งทาบจากต้นพันธุ์ดี ให้นำมาแกะเอาถุงพลาสติกออก แล้วชำลงในถุงพลาสติกสีดำขนาด  8x10  นิ้ว หรือกระถางดินเผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ที่บรรจุด้วย ขุยมะพร้าวล้วน ๆ หรือดินผสม ปักหลักและผูกเชือกกิ่งทาบให้แน่น นำเข้าพักไว้ในโรงเรือนที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วันหรือจนกิ่งพันธุ์ดีเริ่มแตกใบใหม่ จึงนำไปปลูกหรือจำหน่ายได้ สำหรับการชำกิ่งพันธุ์ดีที่ทิ้งใบง่าย เช่น ขนุน กระท้อน ควรพักไว้ในโรงเรือนที่มีความชื้นสูง เช่น กระโจม พลาสติก หรือโรงเรือนระบบพ่นหมอก จะช่วยลดปัญหาการทิ้งใบของพืชนั้นลงได้

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง


ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย,หอมป้อมกุลา(ภาคเหนือ), ผักชีไทย,ผักชีใบเลื่อย(ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ,ผักหอมเป(ขอนแก่น,เลย), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม,หอมเป(ชัยภูมิ), หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum Linn.

วงศ์ : UMBELLIFERAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชวงศ์เดียวกับผักชีใบมีกลิ่นหอมรากเป็นแท่งยาวปลายเรียวแหลมใบขึ้นเป็นกระจุกรอบดคนต้นรูปร่างปลายใบหอกแกมรูปปลายลิ้นไม่มีก้านใบขอบใบเป็นติ่งหนามขนาดใบยาว 3-20 เซนติเมตร กว้าง1-3 เซนติเมตร ลำต้นที่ออกดอกมักแตกกิ่งเป็นแฉกหลายครั้งช่อดอกมีใบประดับและมีติ่งหนามช่อดอกรูปร่างทรงกระบอกกลมยาว 5-10 มิลลิเมตรดอกไม่มีก้านสีเขียวอมเหลืองผลเรียบผิวขรุขระ

การปลูก : ปลูกได้ 2 วิธี คือ

1. การหว่านเมล็ด กำจัดวัชพืชแล้วไถพรวนดิน 2 ครั้ง เสร็จแล้วย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เสมอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ นำเมล็ดผักชีฝรั่งมาพรมน้ำแล้วหว่านให้ทั่วแปลง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง ระวังอย่าให้มีน้ำขังหรือท่วม เมื่อผักชีฝรั่งอายุได้ 2 เดือนครึ่งเริ่มใส่ปุ๋ย 20 - 20 - 0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเริ่มมีช่อดอกให้เด็ดช่อดอกออกเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี

2. การแยกกอ ไถพรวนดินแล้วยกแปลงปลูกกว้าง ประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ขุดหลุมโดยใช้ระยะปลูก 20 X 20 เซนติเมตร นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกลงในหลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นตั้งตัวได้จึงใส่ปุ๋ยคอกและทำการพรวนดินกำจัดวัชพืช การปลูกผักชีฝรั่ง ทั้ง 2 วิธี จะต้องมีการพรางแสง โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 60 - 80 % หรือใช้ทางมะพร้าว แต่ตาข่ายพรางแสงจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า

โรคแมลงที่สำคัญ : มีอยู่ 4 ชนิด คือ

1. โรคไหม้ เกิดในฤดูร้อน ป้องกันโดยใช้สารเคมีพวกเบนเลท อัตรา 6 - 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่เกิดโรค

2. โรคโคนเน่า มักเกิดในฤดูฝน ป้องกันโดย ยกร่องให้สูง เพื่อระบายน้ำ หลังคาควรโปร่งเพื่อให้แสงส่องได้ถึงใช้สารเคมีพวก แอนติโกร 2.1 % อัตรา 30 - 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่วบริเวณที่เกิดโรค

3. หนอนกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากาจะทำความเสียหายทั้งแปลง โดยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2.0 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังสีน้ำตาลอมเทาป้องกันกำจัด โดย นำเมล็ดลางสาดบด 1/2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ แช่ 12 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำนำไปพ่น

4. หอยทาก ป้องกันโดยใช้ปูนขาวโรยแปลง หรือบริเวณโคนต้น ถ้าระบาดมาก ให้ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูปพวกเมรูโวลวางบริเวณหอยระบาด ส่วนผสมเหยื่อพิษ ประกอบด้วย แคลเซียมอาซีเนท 8 ส่วน ปูนดิบ 11 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ผสมเข้าด้วยกันเติมน้ำพอปั้นเป็นก้อนได้

การเก็บเกี่ยว : ผักชีฝรั่งเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 120 วัน หลังเมล็ดงอก หรือ 30 วันนับจากย้ายลงปลูก การเก็บจะถอนทั้งต้นมีรากติด หรือตัดทีละต้น

ประโยชน์ทางยา : กลิ่นหอม รสมันอมขมเล็กน้อย ใบบัวบกสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาแผลให้หายได้ เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อใช้ในการรักษาแผลสดหรือแผลหลังผ่าตัด
ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ใบอ่อนและใบที่เจริญเต็มที่ใช้เป็นผักและเครื่องปรุง ผักชีฝรั่งจะเจริญงอกงาม ดีในฤดูฝน

การปรุงอาหาร : ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย ได้ หรือซอยใส่ยำหมู ยำไก่ หรือยำผัก ใบผักชีอ่อนยังรับประทานโดยนำไปใส่ต้มยำเนื้อ ต้มยำเครื่องในวัว เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้

การตอนกิ่ง(LAYERING)

การตอนกิ่ง (LAYERING)
การตอนเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูกจะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง
๑. มีดบางหรือมีดที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์พืช
๒. ตุ้มตอน (ตุ้มตอน หมายถึง ขุยมะพร้าวอัดถุงพลาสติกขนาด ๔ x ๖ นิ้ว)
๓. เชือกหรือลวด
๔. กรรไกรตัดแต่งกิ่
วิธีการตอน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
๑. การเลือกกิ่งที่จะทำการตอน
การเลือกกิ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกจึงจำเป็นต้องเลือกกิ่งจากต้นพันธุ์ดี ต้องเป็นกิ่งเพสลาด (กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ที่มีความสมบูรณ์ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง ถ้าเป็นกิ่งกระโดงได้ยิ่งดี หรือกิ่งจากส่วนอื่นที่สมบูรณ์แบบ กรณีที่ต้นพันธุ์ดีมีอายุมาก กิ่งไม่สวย จำเป็นต้องตัดกิ่งเพื่อให้กิ่งชุดใหม่แตกออกมาเสียก่อน แล้วจึงทำการตอนบนดิ่งชุดใหม่นั้น
๒. การทำแผลบนกิ่งตอน มีวิธีการทำได้ ๓ แบบ คือ
๒.๑ แบบการควั่นกิ่ง เป็นการทำแผลที่นิยมและใช้กันมานานแล้ว สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด เช่น มะนาว ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ ส้มโอ และไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ วิธีนี้เหมาะสำหรับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกได้ง่าย โดยการใช้มีดควั่นกิ่งโดยรอบเป็นวงแหวน ๒ วง ความห่างของวงแหวนประมาณความยาวของเส้นรอบวงของกิ่งที่ทำการตอน จากนั้นกรีดรอยแผลจากด้านบนถึงด้านล่าง แล้วลอกเอาเปลือกไม้ออก ใช้สันมีขูดส่วนที่เป็นเมือกลื่นที่ติดบนเนื้อไม้บริเวณรอยควั่นออกให้หมด โดยขูดจากด้านบนลงมาด้านล่างเบา ๆ เพราะด้านบนเป็นส่วนที่ให้กำเนิดราก ถ้าหากซ้ำการออกรากอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร

๒.๒ แบบการปาดกิ่ง เป็นวิธีการตอนอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับพืชที่ออกรากง่าย และพืชบางชนิดที่ลอกเปลือก นอกของกิ่งออกยาว โดยการเฉือนใต้ท้องกิ่งบริเวณที่จะทำการตอนเข้าเนื้อไม้เอียงเป็นรูปปากฉลาม เข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ ๑/๓ ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ความยาวแผลประมาณ ๑-๒ นิ้ว จากนั้นหาเศษไม้หรือลวดตะกั่วหรือลวดฟิไฟฟ้าสอดแล้วมัดเพื่อไม่ให้รอยแผลที่เปิดไว้ติดกัน ซึ่งพืชที่ใช้วิธีนี้ ได้แก่ สาเก ชวนชม

๒.๓ แบบการกรีดกิ่ง โดยใช้ใบมีดกรีดเป็นรอยแผลตามความยาวของกิ่ง ยาวประมาณ ๑-๑.๕ นิ้ว จนลึกถึงเนื้อไม้จำนวน ๓-๕ รอยรอบกิ่ง เหมาะสำหรับพืชที่ออกรากง่ายและกิ่งที่จะทำการตอนยังอ่อนอยู่ เช่น หมากผู้หมากเมีย โกศล ยี่โถ

๓. การหุ้มกิ่งตอน
เป็นการชักนำให้รอยแผลที่ควั่นไว้ออกรากโดยใช้ตุ้มตอนซึ่งได้จากการนำขุยมะพร้าวที่ดีเอาเส้นใยออกแล้วไปแช่น้ำบีบให้หมาด ๆ และอัดลงในถุงพลาสติกขนาดเล็ก ผูกปากถุงให้แน่น ผ่าตุ้มตอนตามยาวแล้วหุ้มไปบนรอยแผล มัดด้วยเชือกบริเวณหัวท้ายเหนือและใต้รอยแผลที่ควั่นหรือเฉือนเอาไว้ ต้องมัดให้แน่นโดยไม่ให้ตุ้มตอนหมุนได้ เพราะถ้ามักไม่แน่นอาจทำให้การออกรากไม่ดีเท่าที่ควร
๔. การปฏิบัติดูแลรักษากิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งไปแล้วควรหมั่นดูแลตุ้มตอนให้มีความชื้นอยู่เสมอ โดยสังเกตดูความชื้นของตุ้มตอน ถ้ายังมีฝ้าไอน้ำจับอยู่ที่ผิวของพลาสติกภายในตุ้มตอนแสดงว่าความชื้นยังมีอยู่ แต่ถ้าหากไม่มีฝ้าไอน้ำจับ จำเป็นต้องให้น้ำตุ้มตอนเพิ่มเติมจนกว่ากิ่งตอนจะออกราก หรือถ้าหากพบแมลงทำลายควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี
๕. การตัดกิ่งตอน
เมื่อตอนกิ่งไปได้ประมาณ ๓๐-๔๕ วัน กิ่งตอนก็จะเริ่มออกรากและแทงผ่านวัสดุที่หุ้มภายในออกมาจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะนี้ยังตัดกิ่งตอนไม่ได้ต้องรอจนรากที่งอกออกมาเป็นสีเหลืองแก่หรือสีน้ำตาล จำนวนรากมีมากพอและปลายรากมีสีขาว จึงตัดกิ่งตอนไปชำได้
๖. การชำกิ่งตอน
กิ่งตอนที่ตัดมาแล้วให้ตัดแต่งใบและกิ่งออกทิ้งบ้างเพื่อลดการคายน้ำของใบให้มีปริมาณน้อยลง ถ้าหากมีกิ่งแขนงและใบมากเกินไป เมื่อนำไปชำอาจจะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาและตายได้ จากนั้นให้ตัดเชือกและแกะถุงพลาสติกออก นำไปชำลงในถุงพลาสติกหรือกระถางดินเผาที่บรรจุดินผสมแล้ว พร้อมปักหลักยึดไว้ให้แน่น นำเข้าพักไว้ในโรงเรียนที่ร่มและชื้น กรณีพืชที่เหี่ยวเฉาง่ายควรก็บไว้ในโรงเรือนควบคุมความชื้นหรือกระบะพ่นหมอก พักไว้ในโรงเรือนประมาณ ๒๐-๓๐ วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้

ที่มา : https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k8.htm

การปักชำ

การปักชำ

การปักชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ใบ กิ่ง ลำต้น ราก ออกจากต้นเดิม ไปเก็บไว้ในที่ที่มี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้ส่วนต่างๆดังกล่าวของพืชงอกรากและแตกยอด เจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไปได้
1. ประเภทของการปักชำ มีหลายวิธี ได้แก่
“การปักชำ” หมายถึง การนำรากของพืชมาตัดเป็นส่วนๆ ให้ยาวประมาณ 2-4 นิ้ว แล้วนำไปปักชำลงในวัสดุ ปักชำ เพื่อให้ส่วนของรากงอกและแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ พืชที่สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำราก เช่น สาเก เข็ม ขนุน มะไฟ มันเทศ โมก
“การปักชำใบ” หมายถึง การนำเอาแผ่นใบหรือใบที่มีก้านใบติด มาปักชำลงในวัสดุปักชำ เพื่อให้ส่วนของใบนี้ ออกราก แตกยอดอ่อนเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่
“การปักชำกิ่งหรือลำต้น” หมายถึง การนำเอาส่วนของกิ่งหรือลำต้นพืชมาตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ นำไป ปักในวัสดุปักชำ
การปักชำแบบนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อไม้ ได้แก่
การปักชำกิ่งแก่หรือกิ่งที่มีอายุมาก พืชที่นิยมปักชำ ได้แก่ เฟื่องฟ้า กุหลาบ ชบา พู่ระหง
การปักชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ พืชที่นิยมปักชำ ได้แก่ ฝรั่ง ชมพู่ ลำไย
การปักชำกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน การปักชำลักษณะนี้ต้องใช้กิ่งมีใบติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้ทำหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสง เพราะกิ่งไม่มีอาหารสะสมเพื่อนำมาสร้างรากและยอด พืชที่นิยมปักชำวิธีนี้ เช่น แก้ว กุหลาบ โกสน ดาวเรือง เบญจมาศ พุด ไทร
2. วิธีการปักชำ มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกลักษณะของกิ่งที่จะปักชำ แล้วตัดกิ่งโดยลักษณะการตัดกิ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อไม้ ดังนี้ ‘ ถ้าเป็นกิ่งแก่ ควรตัดให้มีความยาว ป 6-10″ ตัดให้เป็นแผลทำมุมเฉียง 45 ํ-60 ํ ด้านล่างของกิ่งต่ำกว่าข้อ เล็กน้อย แล้วด้านปลายของกิ่งเหนือกว่าข้อเล็กน้อย ป 1-2 ซม. ‘ ถ้าเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ให้ตัดในลักษณะเดียวกัน แต่ให้มีใบติดอยู่ทางด้านปลายของกิ่งเล็กน้อย ‘ ถ้าเป็นกิ่งอ่อน ให้ตัดกิ่งยาวประมาณ 6-8″ ตัดใบออก ป 1 ใน 3 ของกิ่ง

การเลือกและริดใบของกิ่งชำ

2. นำส่วนโคนของกิ่งปักลงในวัสดุปักชำ ให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของกิ่ง โดยให้รอยแผลตัด ด้านปลายของกิ่งเป็นแนวตั้งตรง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังบริเวณรอยแผลซึ่งจะช่วยลดการเน่าของกิ่ง ถ้าทำการปักชำกิ่ง ครั้งละเป็นจำนวนมาก ควรจัดระยะกิ่งที่ปักให้ห่างกันพอประมาณ ถ้าปักกิ่งชิดกันเกินไปจะทำให้กิ่งเน่าเสียได้

นำกิ่งไปปักชำในวัตถุที่เตรียมไว้

3. รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 2-3 ครั้ง แต่อย่าให้วัสดุปักชำมีน้ำท่วมขัง หรือแฉะจนเกินไป และให้กิ่ง ปักชำได้รับแสงแดดรำไร เมื่อกิ่งปักชำออกรากสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว จึงย้ายออกจากแปลงปักชำไปเก็บไว้ในที่ร่มๆ ประมาณ 3-5 วัน จึงปลูกลงแปลงหรือกระถาง

ปัจจัยที่จะทำให้กิ่งตัดชำออกรากดี
ทั้งสภาพภายในกิ่ง และสภาพแวดล้อมภายนอก มีส่วนอยู่มากที่จะทำให้กิ่งเกิดรากดีหรือไม่ดีซึ่งในการตัดชำผู้ปฏิบัติจะต้องคัดเลือกทั้งสภาพภายในกิ่งและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเกิดราก และการเกิดยอด จึงจะทำให้การตัดชำนั้นได้ผลดีสภาพดังกล่าว ได้แก่

ก. สภาพภายในกิ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือมีอยู่ในกิ่งตัดชำนั้นเอง ได้แก่สภาพดังต่อไปนี้
๑. การเลือกกิ่ง ควรจะเลือกกิ่งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
๑.๑ เลือกกิ่งที่มีอาหารมาก เพราะอาหารภายในกิ่งจำเป็นในการเกิดรากและการเจริญของกิ่งสำหรับการตัดชำกิ่งแก่ไม่มีใบ อาหารจะสะสมอยู่ภายในกิ่ง ซึ่งกิ่งที่แก่มาก (ไม่เกิน ๑ ปี) อาหารยิ่งสะสมอยู่ภายในกิ่งมาก ส่วนการตัดชำกิ่งอ่อนหรือกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน รวมทั้งการตัดชำพืชพวกไม้เนื้ออ่อน อาหารจะมีอยู่ที่ใบบนกิ่ง ถ้ากิ่งยิ่งมีใบมาก ก็แสดงว่าอาหารภายในกิ่งยิ่งมีมาก การเกิดรากและ แตกยอดก็ง่ายขึ้น
๑.๒ อายุของต้นพืชที่จะนำมาตัดชำควรเลือกกิ่งจากต้นที่มีอายุน้อย (นับจากเพาะเมล็ด)เพราะกิ่งจากต้นที่มีอายุน้อยจะออกรากได้ง่ายกว่ากิ่งที่นำมาจากต้นที่มีอายุมากๆ
๑.๓ เลือกชนิดของกิ่งให้เหมาะกับการเกิดราก โดยพิจารณาดังนี้ คือถ้าเป็นการตัดชำกิ่งแก่ไม่มีใบ ควรเลือกกิ่งข้างมากกว่ากิ่งกระโดง เพราะกิ่งข้างมีอาหารภายในกิ่งมากกว่ากิ่งกระโดง แต่ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งอ่อนหรือกิ่งมีใบ การใช้กิ่งกระโดงจะออกรากง่ายกว่ากิ่งข้าง ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งแก่ ควรเลือกบริเวณที่เป็นโคนกิ่ง แต่ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งอ่อนหรือกิ่งมีใบควรเลือกบริเวณปลายกิ่งหรือส่วนยอดของกิ่งควรเลือกตัดโคนกิ่งให้รอยตัดอยู่บริเวณที่เป็นข้อหรือใต้ข้อเล็กน้อย เพราะที่ข้อมีอาหารมากกว่าบริเวณที่เป็นปล้อง ซึ่งจะทำให้การออกรากเกิดมากขึ้น ควรเลือกใช้กิ่งที่เป็นกิ่งใบ (vegetative shoots) คือกิ่งที่อยู่ในระยะการเจริญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดรากง่ายกว่าใช้กิ่งดอกหรือกิ่งที่อยู่ในระยะการออกดอกและติดผล
๑.๔ การเลือกฤดูการตัดชำกิ่งให้เหมาะ คือ เป็นการตัดชำกิ่งแก่ที่ไม่มีใบ ควรจะตัดชำกิ่งในระยะที่กิ่งพักการเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตาบนกิ่งเริ่มจะเจริญใหม่อีกครั้งหนึ่ง ส่วนการตัดชำฃกิ่งอ่อนนั้น อาจทำได้เมื่อกิ่งเจริญได้ระยะหนึ่งโดยกิ่งที่เจริญ นั้นมีความแข็ง (firmness) พอสมควร และมีใบเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว สำหรับการตัดชำไม้ผลหรือไม้ประดับบางชนิดที่ออกรากค่อนข้างยากการใช้กิ่งที่แข็ง กลม และมีเส้นลายบนกิ่งเล็กน้อยจะออกรากได้ดีกว่าใช้กิ่งค่อนข้างอ่อน
๒. การปฏิบัติบางอย่างต่อกิ่งตัดชำ
๒.๑ การเลือกกิ่งที่มีตาและใบ ถ้าเป็นกิ่งแก่ควรเลือกกิ่งที่มีตา เพราะจะช่วยให้ออกรากได้ ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตานั้นอยู่ในระยะเริ่มเจริญส่วนการตัดชำแบบกิ่งอ่อนหรือกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ใบบนกิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเกิดราก เพาะใบช่วยสร้างอาหารและฮอร์โมนช่วยการออกรากให้แก่กิ่งตัดชำ
๒.๒ การจัดวางกิ่งตัดชำให้ถูกต้องตามหัวท้ายของกิ่ง ในการตัดชำต้น รากจะออกที่โคนกิ่ง และแตกยอดที่ปลายกิ่ง ส่วนการตัดชำรากก็จะเกิดรากที่ปลายท่อนราก และจะเกิดยอดที่โคนท่อนรากฉะนั้นในการวางกิ่งตัดชำ ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งหรือต้น จึงต้องเอาโคนกิ่งปักลงในวัตถุปักชำ ส่วนการตัดชำราก จะเอาโคนท่อนรากโผล่ขึ้นและเอาปลายท่อนรากปักลง การปักกิ่งกลับทิศทางจะไม่ทำให้ตำแหน่งของการเกิดรากและแตกยอดต้องเปลี่ยนแปลงไปได้ แต่จะทำให้กิ่งไม่เกิดรากและเกิดยอด
๒.๓ การทำแผลโคนกิ่ง แผลโคนกิ่งจะช่วยให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพืชที่เกิดรากเฉพาะที่แผลรอยตัดแห่งเดียว นอกจากจะช่วยให้กิ่งเกิดจุดกำเนิดรากได้ง่ายแล้วยังช่วยให้กิ่งดูดน้ำและฮอร์โมนได้มากขึ้นอีกด้วย
๒.๔ การใช้ฮอร์โมนและสารบางอย่างช่วยการออกราก
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ฮอร์โมนช่วยให้กิ่งตัดชำออกรากดีขึ้น คือช่วยให้เกิดรากมาก ออกรากไวและรากเจริญได้เร็วขึ้น สารฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เป็นตัวสารเคมีที่ใช้ผสมอยู่ในชื่อฮอร์โมนการค้าต่างๆ นั้นมักจะมีสารฮอร์โมนอยู่สองชนิด คือ ไอบี เอ (IBA) หรือชื่อเต็ม คือ กรดอินโดลบิวไทริค (indolebutyric acid) และ เอ็นเอเอ (NAA) หรือชื่อเต็มคือกรดแนฟทาลีนอะซีติก (naphthaleneaceticacid) สารฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้เป็นสารที่เสื่อมช้าคือไม่สูญเสียง่าย แต่ในการใช้มีข้อที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การใช้ฮอร์โมนกับพืชใด ควรจะรู้ความเข้มข้นที่แน่นอนและให้พอเหมาะกับพืชนั้นๆ เพราะการใช้ฮอร์โมนที่อ่อนไปจะไม่ได้ผลเลย (เหมือนจุ่มน้ำ)ส่วนการใช้ฮอร์โมนที่แรงเกินไปจะเป็นการทำลายกิ่งคือ โคนกิ่งจะไหม้ดำ (เหมือนจุ่มกิ่งในน้ำกรด)
นอกจากจะมีการใช้ฮอร์โมนทำให้กิ่งพืชออกรากแล้ว ยังมีการใช้สารอื่นๆ รวมทั้งแร่ธาตุบางอย่างในการตัดชำพืชบางชนิดอีกด้วย เช่น มีการใช้วิตามิน บี ๑ (B1) ช่วยการเจริญของปลายราก และการใช้โบรอน (boron) ใส่ลงในวัตถุปักชำ จะช่วยให้กิ่งตัดชำของพืชบางชนิดออกรากดีขึ้น
ข. การจัดสภาพแวดล้อมให้กับกิ่งตัดชำในระหว่างรอการออกราก
๑. การจัดความชื้นในอากาศรอบๆ กิ่งตัดชำความชื้นในอากาศเกี่ยวข้องกับ การตัดชำกิ่งพืชที่มีใบซึ่งได้แก่ การตัดชำแบบใช้กิ่งอ่อน กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน การตัดชำไม้เนื้ออ่อน รวมทั้งการตัดชำใบด้วย โดยที่กิ่งตัดชำเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาใบไว้ปรุงอาหาร เพื่อช่วยการออกราก ฉะนั้นจึงต้องรักษาใบไว้ให้สดและติดอยู่กับกิ่งตลอดไป แต่การที่ใบจะสดอยู่ได้ก็จะต้องมีความชื้นในอากาศรอบๆ ใบสูงพอ น้ำจากใบจึงจะไม่คายออกมาและใบก็จะไม่เหี่ยว ด้วยเหตุนี้การตัดชำกิ่งมีใบจึงต้องรักษาความชื้นของอากาศรอบๆ ใบ ให้สูงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเราอาจทำได้โดยคอยรดน้ำที่พื้นที่ข้างๆ กระบะปักชำเสมอๆ หรือคอยพรมน้ำกิ่งตัดชำบ่อยๆ ฉีดหรือพ่นละอองน้ำให้จับใบอยู่ตลอดเวลาหรือเป็น ระยะ ซึ่งวิธีการหลังนี้อาจใช้คนช่วยฉีดพ่น หรือโดยการใช้เครื่องพ่นน้ำอัตโนมัติ (autometic mist) ก็ได้
๒. อุณหภูมิกับการออกรากของกิ่งตัดชำโดยปกติ อุณหภูมิที่จะทำให้กิ่งตัดชำออกรากได้ดีจะอยู่ระหว่าง ๗๐ องศา – ๘๐ องศา ฟ. สำหรับบ้านเราอุณหภูมิที่จำเป็นในการการออกรากในพืชทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยเป็นปัญหา เช่น กุหลาบ สามารถออกรากได้ดีไม่ว่าปักชำในฤดูหนาว ฤดูฝนหรือฤดูร้อนก็ตามเว้นแต่ในพืชบางชนิดที่เจริญได้ดีในฤดูร้อน เช่น ในมะลิ จะออกรากได้ดีในฤดูร้อนหรือฤดูฝน แต่จะไม่ค่อยออกรากหรือออกรากยากเมื่อปักชำในฤดูหนาว
๓. แสงสว่างกับการออกรากแสงสว่างมีความจำเป็นสำหรับการตัดชำกิ่งพืชที่ต้องมีใบติดและการตัดชำใบ เพราะแสงสว่างจำเป็นในการปรุงอาหาร รวมทั้งสร้างสารฮอร์โมนเพื่อช่วยการออกรากของกิ่งตัดชำ ฉะนั้นในกิ่งตัดชำที่มีใบและเป็นพืชชอบแดด การให้กิ่งตัดชำได้รับแสงมากเท่าไร ก็จะช่วยให้การออกรากดีขึ้นเท่านั้น ส่วนพืชที่ไม่ทนแสง (แสงแดด) เช่น พืชที่ใช้ประดับในอาคาร (house plants) การพรางแสงให้กับกิ่งโดยให้เหลือแสงเพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ หรืออย่างน้อยที่สุด ๑๕๐-๒๐๐ แรงเทียน จะช่วยให้กิ่งเหล่านี้ออกรากได้ดี
ส่วนการตัดชำกิ่งแก่ไม่มีใบ รวมทั้งการตัดชำราก ซึ่งจะออกรากได้ดีในที่มืด แต่จะต้องการแสงเพิ่มขึ้นเมื่อกิ่งเกิดยอด ในทางปฏิบัติจึงควรปักชำกิ่งแก่และปักชำรากไว้ในที่ที่มีแสงราว ๓๐ เปอร์เซ็นต์
๔. วัตถุที่ใช้ในการตัดชำการออกรากของกิ่งตัดชำ จะไม่เกี่ยวกับอาหารที่มีอยู่ในวัตถุปักชำนั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับความชื้น (moisture) และอากาศ (areation) ที่มีอยู่ในวัตถุปักชำนั้น โดยที่วัตถุปักชำแต่ละชนิดจะดูดความชื้นและมีอากาศผ่านเข้าออกได้ต่างกัน ซึ่งจะเป็นผลให้การออกรากแตกต่างกันไปด้วย วัตถุที่จะช่วยให้การออกรากเกิดได้ดี จะต้องดูดความชื้นได้มาก และมีอากาศผ่านได้สะดวก และโดยที่พืชแต่ละชนิดต้องการอากาศมากน้อยต่างกัน ฉะนั้นการที่จะใช้วัตถุใดเหมาะกับพืชใด จึงต้องศึกษาและทดลองในแต่ละพืชไป สำหรับวัตถุปักชำที่นิยมใช้กันทั่วๆ ไป ได้แก่ทรายหยาบ ถ่านแกลบที่ล้างด่างหมดแล้ว หรือส่วนผสมของทรายหยาบกับถ่านแกลบอย่างละเท่ากัน
ที่มา
winnah2.exteen.com/20090505/entry-8