ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย,หอมป้อมกุลา(ภาคเหนือ), ผักชีไทย,ผักชีใบเลื่อย(ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ,ผักหอมเป(ขอนแก่น,เลย), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม,หอมเป(ชัยภูมิ), หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum Linn.
วงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชวงศ์เดียวกับผักชีใบมีกลิ่นหอมรากเป็นแท่งยาวปลายเรียวแหลมใบขึ้นเป็นกระจุกรอบดคนต้นรูปร่างปลายใบหอกแกมรูปปลายลิ้นไม่มีก้านใบขอบใบเป็นติ่งหนามขนาดใบยาว 3-20 เซนติเมตร กว้าง1-3 เซนติเมตร ลำต้นที่ออกดอกมักแตกกิ่งเป็นแฉกหลายครั้งช่อดอกมีใบประดับและมีติ่งหนามช่อดอกรูปร่างทรงกระบอกกลมยาว 5-10 มิลลิเมตรดอกไม่มีก้านสีเขียวอมเหลืองผลเรียบผิวขรุขระ
การปลูก : ปลูกได้ 2 วิธี คือ
1. การหว่านเมล็ด กำจัดวัชพืชแล้วไถพรวนดิน 2 ครั้ง เสร็จแล้วย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เสมอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ นำเมล็ดผักชีฝรั่งมาพรมน้ำแล้วหว่านให้ทั่วแปลง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง ระวังอย่าให้มีน้ำขังหรือท่วม เมื่อผักชีฝรั่งอายุได้ 2 เดือนครึ่งเริ่มใส่ปุ๋ย 20 - 20 - 0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเริ่มมีช่อดอกให้เด็ดช่อดอกออกเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี
2. การแยกกอ ไถพรวนดินแล้วยกแปลงปลูกกว้าง ประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ขุดหลุมโดยใช้ระยะปลูก 20 X 20 เซนติเมตร นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกลงในหลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นตั้งตัวได้จึงใส่ปุ๋ยคอกและทำการพรวนดินกำจัดวัชพืช การปลูกผักชีฝรั่ง ทั้ง 2 วิธี จะต้องมีการพรางแสง โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 60 - 80 % หรือใช้ทางมะพร้าว แต่ตาข่ายพรางแสงจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า
โรคแมลงที่สำคัญ : มีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. โรคไหม้ เกิดในฤดูร้อน ป้องกันโดยใช้สารเคมีพวกเบนเลท อัตรา 6 - 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่เกิดโรค
2. โรคโคนเน่า มักเกิดในฤดูฝน ป้องกันโดย ยกร่องให้สูง เพื่อระบายน้ำ หลังคาควรโปร่งเพื่อให้แสงส่องได้ถึงใช้สารเคมีพวก แอนติโกร 2.1 % อัตรา 30 - 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่วบริเวณที่เกิดโรค
3. หนอนกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากาจะทำความเสียหายทั้งแปลง โดยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2.0 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังสีน้ำตาลอมเทาป้องกันกำจัด โดย นำเมล็ดลางสาดบด 1/2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ แช่ 12 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำนำไปพ่น
4. หอยทาก ป้องกันโดยใช้ปูนขาวโรยแปลง หรือบริเวณโคนต้น ถ้าระบาดมาก ให้ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูปพวกเมรูโวลวางบริเวณหอยระบาด ส่วนผสมเหยื่อพิษ ประกอบด้วย แคลเซียมอาซีเนท 8 ส่วน ปูนดิบ 11 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ผสมเข้าด้วยกันเติมน้ำพอปั้นเป็นก้อนได้
การเก็บเกี่ยว : ผักชีฝรั่งเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 120 วัน หลังเมล็ดงอก หรือ 30 วันนับจากย้ายลงปลูก การเก็บจะถอนทั้งต้นมีรากติด หรือตัดทีละต้น
ประโยชน์ทางยา : กลิ่นหอม รสมันอมขมเล็กน้อย ใบบัวบกสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาแผลให้หายได้ เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อใช้ในการรักษาแผลสดหรือแผลหลังผ่าตัด
ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ใบอ่อนและใบที่เจริญเต็มที่ใช้เป็นผักและเครื่องปรุง ผักชีฝรั่งจะเจริญงอกงาม ดีในฤดูฝน
การปรุงอาหาร : ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย ได้ หรือซอยใส่ยำหมู ยำไก่ หรือยำผัก ใบผักชีอ่อนยังรับประทานโดยนำไปใส่ต้มยำเนื้อ ต้มยำเครื่องในวัว เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum Linn.
วงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชวงศ์เดียวกับผักชีใบมีกลิ่นหอมรากเป็นแท่งยาวปลายเรียวแหลมใบขึ้นเป็นกระจุกรอบดคนต้นรูปร่างปลายใบหอกแกมรูปปลายลิ้นไม่มีก้านใบขอบใบเป็นติ่งหนามขนาดใบยาว 3-20 เซนติเมตร กว้าง1-3 เซนติเมตร ลำต้นที่ออกดอกมักแตกกิ่งเป็นแฉกหลายครั้งช่อดอกมีใบประดับและมีติ่งหนามช่อดอกรูปร่างทรงกระบอกกลมยาว 5-10 มิลลิเมตรดอกไม่มีก้านสีเขียวอมเหลืองผลเรียบผิวขรุขระ
การปลูก : ปลูกได้ 2 วิธี คือ
1. การหว่านเมล็ด กำจัดวัชพืชแล้วไถพรวนดิน 2 ครั้ง เสร็จแล้วย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เสมอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ นำเมล็ดผักชีฝรั่งมาพรมน้ำแล้วหว่านให้ทั่วแปลง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง ระวังอย่าให้มีน้ำขังหรือท่วม เมื่อผักชีฝรั่งอายุได้ 2 เดือนครึ่งเริ่มใส่ปุ๋ย 20 - 20 - 0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเริ่มมีช่อดอกให้เด็ดช่อดอกออกเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี
2. การแยกกอ ไถพรวนดินแล้วยกแปลงปลูกกว้าง ประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ขุดหลุมโดยใช้ระยะปลูก 20 X 20 เซนติเมตร นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกลงในหลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นตั้งตัวได้จึงใส่ปุ๋ยคอกและทำการพรวนดินกำจัดวัชพืช การปลูกผักชีฝรั่ง ทั้ง 2 วิธี จะต้องมีการพรางแสง โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 60 - 80 % หรือใช้ทางมะพร้าว แต่ตาข่ายพรางแสงจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า
โรคแมลงที่สำคัญ : มีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. โรคไหม้ เกิดในฤดูร้อน ป้องกันโดยใช้สารเคมีพวกเบนเลท อัตรา 6 - 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่เกิดโรค
2. โรคโคนเน่า มักเกิดในฤดูฝน ป้องกันโดย ยกร่องให้สูง เพื่อระบายน้ำ หลังคาควรโปร่งเพื่อให้แสงส่องได้ถึงใช้สารเคมีพวก แอนติโกร 2.1 % อัตรา 30 - 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่วบริเวณที่เกิดโรค
3. หนอนกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากาจะทำความเสียหายทั้งแปลง โดยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2.0 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังสีน้ำตาลอมเทาป้องกันกำจัด โดย นำเมล็ดลางสาดบด 1/2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ แช่ 12 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำนำไปพ่น
4. หอยทาก ป้องกันโดยใช้ปูนขาวโรยแปลง หรือบริเวณโคนต้น ถ้าระบาดมาก ให้ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูปพวกเมรูโวลวางบริเวณหอยระบาด ส่วนผสมเหยื่อพิษ ประกอบด้วย แคลเซียมอาซีเนท 8 ส่วน ปูนดิบ 11 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ผสมเข้าด้วยกันเติมน้ำพอปั้นเป็นก้อนได้
การเก็บเกี่ยว : ผักชีฝรั่งเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 120 วัน หลังเมล็ดงอก หรือ 30 วันนับจากย้ายลงปลูก การเก็บจะถอนทั้งต้นมีรากติด หรือตัดทีละต้น
ประโยชน์ทางยา : กลิ่นหอม รสมันอมขมเล็กน้อย ใบบัวบกสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาแผลให้หายได้ เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อใช้ในการรักษาแผลสดหรือแผลหลังผ่าตัด
ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ใบอ่อนและใบที่เจริญเต็มที่ใช้เป็นผักและเครื่องปรุง ผักชีฝรั่งจะเจริญงอกงาม ดีในฤดูฝน
การปรุงอาหาร : ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย ได้ หรือซอยใส่ยำหมู ยำไก่ หรือยำผัก ใบผักชีอ่อนยังรับประทานโดยนำไปใส่ต้มยำเนื้อ ต้มยำเครื่องในวัว เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น