1. อย่าจดทุกคำ
เราเคยได้ยินกันมาว่าฟังไปจดไป ทำให้จดช้า ตกประเด็นสำคัญไป อันนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ แต่จะให้ฟังทีเดียวแล้วจดก็ทำยากเกินไป เพราะอาจารย์อาจไม่มีช่องไฟให้หยุดเขียนเลย ดังนั้นถ้าฟังแล้วค่อยจดมันทำยาก เราก็ต้องฝึกฟังไปจดไปให้ได้ นั่นก็คือ ฝึกจับใจความและอย่าจดทุกคำ
การจับใจความการฟัง อาจจะยากนิดนึง ทั้งหู สมอง และมือต้องทำงานไปพร้อมกัน หูฟังอาจารย์ จากนั้นประมวลผลและจดเฉพาะสาระสำคัญของแต่ละประโยคลงสมุดให้เป็นภาษาเรา เพราะการจดตามอาจารย์ทุกอย่างที่พูดคงได้คำฟุ่มเฟือยมาเยอะเลยค่ะ ซึ่งคำฟุ่มเฟือยทั้งหลายก็เป็นส่วนเกินที่สามารถตัดทิ้งได้โดยไม่ทำให้เนื้อหาเปลี่ยน เช่น
"เอ้า ต่อไปครูจะพูดหัวข้อประเทศในอาเซียน อาเซียนมี 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย....." ถ้าจดตามยังไงก็ไม่ทัน
แต่ถ้าเราจดแค่ "อาเซียนมี 10 ประเทศ : ไทย อินโด...." เห็นมั้ย มันสั้นกว่ากันเยอะมากๆๆ
2. ใช้อักษรย่อ
จากข้อ 1 วิธีที่ทำให้เราจดเร็วขึ้น ก็คือ การใช้อักษรย่อที่มีอยู่แล้ว เช่น กิโลกรัม เป็น ก.ก., ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น USA หรือคำย่อที่รู้เฉพาะเรา เช่น สมัย ย่อเป็น ส., ความ ย่อเป็น ค. เพราะย่อเป็น พ. , ประเทศ ย่อเป็น ป. เป็นต้น ตัวย่อจะช่วยให้เราเขียนน้อยลง แต่ใจความยังเหมือนเดิม ช่วงแรกอาจจะยากแต่ใช้เรื่อยๆ จะชินเองค่ะ เมื่อเราจดเร็วขึ้น ก็เพิ่มโอกาสที่จะจดทันอาจารย์ จับเนื้อหาได้ครบทุกประเด็นด้วย
เราเคยได้ยินกันมาว่าฟังไปจดไป ทำให้จดช้า ตกประเด็นสำคัญไป อันนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ แต่จะให้ฟังทีเดียวแล้วจดก็ทำยากเกินไป เพราะอาจารย์อาจไม่มีช่องไฟให้หยุดเขียนเลย ดังนั้นถ้าฟังแล้วค่อยจดมันทำยาก เราก็ต้องฝึกฟังไปจดไปให้ได้ นั่นก็คือ ฝึกจับใจความและอย่าจดทุกคำ
การจับใจความการฟัง อาจจะยากนิดนึง ทั้งหู สมอง และมือต้องทำงานไปพร้อมกัน หูฟังอาจารย์ จากนั้นประมวลผลและจดเฉพาะสาระสำคัญของแต่ละประโยคลงสมุดให้เป็นภาษาเรา เพราะการจดตามอาจารย์ทุกอย่างที่พูดคงได้คำฟุ่มเฟือยมาเยอะเลยค่ะ ซึ่งคำฟุ่มเฟือยทั้งหลายก็เป็นส่วนเกินที่สามารถตัดทิ้งได้โดยไม่ทำให้เนื้อหาเปลี่ยน เช่น
"เอ้า ต่อไปครูจะพูดหัวข้อประเทศในอาเซียน อาเซียนมี 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย....." ถ้าจดตามยังไงก็ไม่ทัน
แต่ถ้าเราจดแค่ "อาเซียนมี 10 ประเทศ : ไทย อินโด...." เห็นมั้ย มันสั้นกว่ากันเยอะมากๆๆ
2. ใช้อักษรย่อ
จากข้อ 1 วิธีที่ทำให้เราจดเร็วขึ้น ก็คือ การใช้อักษรย่อที่มีอยู่แล้ว เช่น กิโลกรัม เป็น ก.ก., ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น USA หรือคำย่อที่รู้เฉพาะเรา เช่น สมัย ย่อเป็น ส., ความ ย่อเป็น ค. เพราะย่อเป็น พ. , ประเทศ ย่อเป็น ป. เป็นต้น ตัวย่อจะช่วยให้เราเขียนน้อยลง แต่ใจความยังเหมือนเดิม ช่วงแรกอาจจะยากแต่ใช้เรื่อยๆ จะชินเองค่ะ เมื่อเราจดเร็วขึ้น ก็เพิ่มโอกาสที่จะจดทันอาจารย์ จับเนื้อหาได้ครบทุกประเด็นด้วย
3. ฝึกเขียนบ่อยๆ
เดี๋ยวนี้มีคอมพิวเตอร์ คนก็ไม่ค่อยนิยมเขียนกันละ เน้นพิมพ์มากกว่า เพราะสะดวกและสวยด้วย แต่จดเลคเชอร์ยังต้องใช้มือเขียนอยู่ ถ้าน้องๆ ไม่ค่อยได้ฝึกเขียน มือไม้ก็จะแข็ง เขียนไม่ค่อยออก เขียนช้า แถมเขียนไม่สวยอีกต่างหาก ดังนั้นฝึกเขียนไว้เยอะๆ วันหยุดก็เขียนอะไรบ้าๆ บอๆ ไปก็ได้ การฝึกบ่อยๆ จนชิน ช่วยให้เราเขียนสวยและเขียนไวขึ้นแน่นอน
4. เลือกใช้เครื่องเขียนดีๆ
เรื่องนี้สำคัญค่ะ เลือกปากกาที่เขียนดีๆ ไว้สักแท่ง ขอเป็นปากกาที่เขียนติดตลอด สีสม่ำเสมอ แท่งไหนเขียนไม่ติดแล้วก็เก็บไว้บ้านเป็นที่ระลึกเถอะค่ะ เพราะเวลาเรารีบๆ แต่ต้องมาเจอปากกาเขียนไม่ออก มันเซ็งนะคะ กว่าจะเปลี่ยนเป็นปากกาแท่งใหม่ ครูก็ขึ้นเรื่องใหม่ไปและ จดไม่ทันอีกแล้ว ว้า...แย่จัง!!
อ้อแล้วก็ปากกาประเภทหัวแตก หมึกเยิ้ม ทิ้งไปได้เลยค่ะ เอามาใช้งานจะยิ่งทำให้สมุดของเราเลอะเทอะ นี่สมุดจดเลคเชอร์นะ ไม่ใช่สมุดระบายสี
5. ทำอะไรล่วงหน้าได้ก็ทำเถอะ
เวลาเราจดเลคเชอร์เพลินๆ ก็ไม่อยากมีอะไรสะดุดใช่มั้ยล่ะ ปากกาดีๆ เราก็เตรียมไว้แล้ว อีกปัญหานึงคือ สมุดหมดหน้า สมุดหมดเล่ม ดินสอไส้หมด ฯลฯ พวกนี้เราเตรียมตัวตอนว่างๆ ได้เลย เช่น ตีเส้นคั่นหน้าล่วงหน้าไว้ประมาณ 10 หน้า ขึ้นหน้าใหม่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาไม้บรรทัดนั่งลากเส้นค่ะ ส่วนพวกไส้ดินสอ ก็เช็คเป็นระยะๆ ว่าหมดยัง ถ้าใกล้หมดแล้วก็เติมใส่ให้พร้อม จะได้ไม่สะดุด
6. จัดวางตำแหน่งการเขียนให้สะดวกมือที่สุด
หมายความว่า วางสมุดและท่านั่งให้สะดวกกับการเขียนมากที่สุด บนโต๊ะต้องไม่วางอะไรเยอะ ถ้าคาบนั้นอาจารย์ไม่ได้ใช้หนังสือก็ปิดหนังสือไปก่อน เพราะถ้าน้องๆ กางทุกอย่างพร้อมกัน ทั้งสมุด หนังสือ ถุงดินสอ แฟ้ม บลาบลาบลา น้องจะไม่มีที่เขียนค่ะ เวลาเขียนมือก็ต้องก่ายหนังสือ แล้วก็จดไม่ถนัด
ถ้ามีปัญหาเรื่องที่นั่งกับเพื่อน ใช้มือถนัดคนละด้าน ก็สลับฝั่งให้เรียบร้อยค่ะ คนถนัดมือซ้ายก็ควรนั่งด้านซ้าย ถนัดมือขวาควรนั่งด้านขวา ถ้านั่งสลับกัน ข้อศอกจะชนกัน ชวนให้อารมณ์เสียบ่อยๆ ก็แหม คนกำลังเขียนสวยๆ ชนทีนึง ป.ปลาหางยาวลอยออกไปนอกโต๊ะเลยค่ะ
7. อย่าเขียนตัวใหญ่ และอย่าเขียนติดกันเป็นพรืด
เขียนตัวใหญ่ใช้เวลานาน เพราะกว่าจะเขียนได้ตัวนึงต้องลากเส้นยาวกว่า แนะนำให้น้องๆ ฝึกเขียนตัวเล็กลงจะจดรายละเอียดได้เร็วขึ้นค่ะ นอกจากนี้อย่าเขียนติดกันเป็นพรืด ยิ่งทำให้ดูสกปรก ถ้าจบใจความสำคัญขึ้นบรรทัดใหม่ได้ก็ควรขึ้นค่ะ เลคเชอร์ของเราจะดูเป็นระเบียบ ตัวหนังสือถึงจะไม่มีชีวิตแต่ก็ต้องมีที่ว่างไว้หายใจบ้างนะ
8. อย่าจดแต่ตัวอักษร
จดเลคเชอร์ แต่ไม่เขียนเป็นตัวหนังสือ แล้วจะเขียนยังไง? เราสามารถเพิ่มลูกเล่นเล็กๆ ให้กับเลคเชอร์ของเราได้ด้วยสัญลักษณ์และรูปภาพค่ะ สัญลักษณ์ก็เช่น เครื่องหมาย +, -, *, %, &, $ เพราะสัญลักษณ์พวกนี้มีความหมายในตัวของมันเอง หากใช้เป็นก็ประหยัดเวลาในการเขียน และน่าอ่านมากขึ้นด้วย หรือจะใช้ตารางมาประยุกต์กับการจดเลคเชอร์ก็ได้นะคะ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ จำพวกสูตร วิธีการใช้ และพวกโครงสร้างประโยคต่าง
ส่วนรูปภาพประกอบ วาดเป็นกิมมิคเล็กๆ ให้เลคเชอร์ดูมีสีสัน น่าอ่านและสวยงามมากขึ้นด้วยค่ะ
ที่มา : http://www.dek-d.com/education/37301/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น